วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติ

แกงมัสมั่น
แกงมัสมั่นจากประเทศไทย ได้รับการยกย่องจากเครือข่ายโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นให้เป็นอาหารสุดอร่อย (Most delicious) อันดับ ๑ ของโลก ชนะพิซซ่าจากอิตาลีซึ่งได้คะแนนนิยมเป็นอันดับที่ ๒ ผลจากการโหวตของสมาชิกและนักท่องเที่ยว และจากประสบการณ์ในการทำข่าวของซีเอ็นเอ็น นอกจากนี้อาหารไทยที่ติดอันดับอีก ๓ ชนิด คือ ต้มยำกุ้งอันดับ ๘ หมูน้ำตกอันดับ ๙ และส้มตำอันดับที่ ๔๖ แกงมัสมั่นต้นตำรับเดิมเป็นของอินเดีย เข้ามาอยู่ในทำเนียบอาหารไทยตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ หรือ ๒๓๐ กว่าปีมาแล้ว ตำรับเดิมนิยมทำด้วยเนื้อวัว แต่ปัจจุบันจะใช้เนื้อสัตว์ชนิดใดได้ตามใจชอบ จากตำรับเดิมของอินเดียนำมาปรับปรุงลดปริมาณเครื่องเทศให้น้อยลงเพื่อให้เหมาะกับลิ้นของคนไทย มัสมั่นหรือแกงมัสมั่นในยุคปัจจุบันใช่จะหารับประทานได้ง่าย ขณะเดียวกันถือเป็น ๑ ในอาหารไทยที่ชาวต่างชาติรู้จักมากขึ้น เรื่องนี้เป็นข่าวรู้จักไปทั่วทุกมุมโลกโดยโหวตผ่านทางเฟซบุ๊ก มัสมั่นเป็นอาหารรสชาติเผ็ดร้อน หอมมัน หวาน อร่อยกลมกล่อม มัสมั่นมีจุดกำเนิดในไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นำเข้ามาโดยแขกเจ้าเซนที่มาจากเปอร์เซีย (อิหร่าน) เป็นแกงที่นิยมรับประทานในหมู่ผู้ชื่นชอบกลิ่นเครื่องเทศที่โดดเด่น บางแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของเมนูระบุว่า ชาวไทยมุสลิมมักเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น ขณะที่ต้นตำรับของมุสลิมจะออกรสเค็มมัน แต่มัสมั่นของไทยจะออกรสหวาน ผศ.อภิญญา มานะวิโรจน์ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าวว่า เมนูมัสมั่นนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางอาหารระหว่างไทยกับเปอร์เซีย โดยได้ปรับรสชาติให้เข้ากับคนไทย มีการลดเครื่องแกง ลดเครื่องเทศ และปรับปรุงรสชาติให้มี ๓ รสหลัก คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน ซึ่งเป็นรสหลักของคนไทย โดยรสเปรี้ยวนั้นใช้สับปะรดทำให้มีรสชาติเปรี้ยวและยังช่วยให้เนื้อสัตว์เปื่อยด้วย นอกจากนี้ ผศ.อภิญญา ยังมองว่าจุดนี้ทำให้อาหารไทยอย่างมัสมั่นมีชื่อเสียงมากขึ้น เป็นตัวเลือกอาหารไทยสำหรับคนต่างชาติ นอกเหนือจากต้มยำกุ้ง หรือแกงเขียวหวาน นักวิชาการด้านอาหารยังได้ระบุว่า ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ อาจจะเลือกมัสมั่นเป็นอาหารไทยที่ส่งผลต่อธุรกิจอาหารในปัจจุบัน ทางด้านนายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า ค่อนข้างแปลกใจที่อาหารไทยอย่างแกงมัสมั่นเป็นเมนูติดอันดับ ๑ ของโลก แซงหน้าเมนูต้มยำ แกงเขียวหวาน และผัดไทย มัสมั่นถือเป็นเมนูพิเศษที่มีเอกลักษณ์ มีกรรมวิธีการทำค่อนข้างละเอียด คนไทยส่วนใหญ่เลี่ยงการกินมัสมั่น เพราะกังวลเรื่องโรคอ้วน ความดันในกระแสโลหิตสูงจากความหวานมันของกะทิในแกงมัสมั่น แต่ถือเป็นเรื่องที่ดีที่กระแสเรื่องอาหารไทยกำลังได้รับความนิยม นอกจากสร้างชื่อเสียงให้แก่ประทศ โดยเป็นสินค้าที่ดึงดูดเม็ดเงินจากการท่องเที่ยว ชาวต่างชาติอาจเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อชิมมัสมั่นในแบบต้นตำรับ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องมีการปรับรสชาติให้เหมาะสมกับลูกค้า สิ่งที่ควรกำหนดเป็นมาตรฐานคือ เรื่องของส่วนผสมวัตถุดิบหลัก ที่ต้องคงไว้ตามแบบต้นตำรับห้ามแปรเปลี่ยนไป สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
อาหารไทย โดย นฤเบศร์ โตจีน อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา 4.0 International.